บริษัท สุทธกุล จำกัด เริ่มประกอบกิจการเมื่อวันที่ 13 กรกฏาคม 2536 ประกอบกิจการประเภทอุปกรณ์ยกทุกชนิด อาทิเช่นลิฟท์บรรทุกสินค้า ลิฟท์ยกของ ลิฟท์ขนส่งสินค้า ควบคุมการออกเเบบโดยทีมงาน วิศวกร มีบริการหลังการขาย ตรวจเช็คพร้อมให้คำเเนะนำ ทางบริษัทฯ ได้มีการขยายโรงงานประกอบโกดังจัดเก็บสินค้าและอุปกรณ์ ออกบนเนื้อที่่ 4 ไร่ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของบริษัทฯ เเละเพื่อเพิ่่มประสิทธิภาพของการทำงานให้มากขึ้น
เราเป็น ผู้ผลิตและรับสั่งทำ ลิฟท์ยกของ ลิฟท์ยกสินค้า ระบบลิฟท์ทุกชนิดรับออกแบบตามสภาพหน้างาน ตามลูกค้าสั่ง ลิฟท์เครนยกสินค้า ลิฟท์บรรทุก เครนโรงงาน รอกไฟฟ้า รับซ่อมลิฟท์ยกของ ยกสินค้า ลิฟท์ที่มีความยืดหยุ่นของขนาด และน้ำหนักบรรทุก สามารถทำตามขนาดที่ต้องการได้ เลือกน้ำหนักบรรทุกได้ถึง 3 ตัน เหมาะสำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อยกของที่มีน้ำหนักมาก และขนส่งสินค้าทั่วไป ติดตั้งเร็วทั้งภายใน-ภายนอก อาคาร ลิฟท์โดยสารส่งสินค้า-ลิฟท์ยกของ ลิฟท์สินค้าขึ้นชั้นบน ซ่อมบำรุงลิฟท์, สะพานขึ้นตู้คอนเทนเนอร์ ลิฟท์เครน รับซ่อมทุกชนิด ทุกยี่ห้อ รับทำตามแบบและขนาดตามลูกค้าสั่ง รับดูแล-ซ่อม เครื่องไฮดรอลิค แบบรายเดือน / รายปี รับสร้าง-ออกแบบงาน RAMP (สะพานขึ้นตู้คอนเทนเนอร์) จำหน่ายTable lift ปั๊มไฮดรอลิค ลิฟท์ยกของ ลิฟท์ยกรถ กระบอกไฮดรอลิค

• ลิฟท์บรรทุกสินค้า, เครนไฟฟ้า, ระบบไฟ
• รอกสลิงไฟฟ้า, รอกโซ่ไฟฟ้า, รอกโซ่มือสาว
• มอเตอร์เกียร์
• อุปกรณ์

• ขายและบริการระบบตรวจเช็คพร้อมซ่อมบำรุง ลิฟท์ไฟฟ้า
• ขายเเละบริการระบบลิฟท์บรรทุกสินค้า
• ขายเเละบริการรอกไฟฟ้า
• ออกเเบบเเละติตดั้งพร้อมดำเนินการ
• บริการตรวจสอบเเละรับรองความปลอดภัย พร้อมออกใบรับรองความปลอดภัย (ปจ.1)



รับออกแบบลิฟท์ ติดตั้งลิฟท์ ลิฟท์ขนของ ลิฟท์บรรทุกของ ลิฟท์ขนส่งสินค้า รับทำลิฟท์ขนของ ได้ตรงตามความต้องการในใช้งาน ลิฟท์ขนของลดปัญหาด้านแรงงานขนถ่ายสินค้า ลดระยะเวลาในการทำงาน ในด้านการขนย้ายของไปตามชั้นต่างๆ สามารถบรรทุกสินค้าที่มีน้ำหนักมาก รับสั่งทำในราคาเป็นกันเอง

รับออกแบบสร้างลิฟท์ขนสินค้าบรรทุกสินค้า ลิฟท์โรงงาน ลิฟต์ขนของในโรงงาน ติดตั้งได้ทั้งภายในอาคารหรือนอกอาคาร ซึ่งสามารถกำหนดน้ำหนักบรรทุกและขนาดที่ต้องการได้ สำหรับใช้ขนถ่ายสินค้าหรือใช้ขนวัตถุดิบในคลังสินค้า ออกแบบติดตั้งลิฟท์ขนส่งสินค้าตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ลิฟท์สำหรับการขนถ่ายสินค้าหรือวัตถุดิบตามคลังสินค้า ห้างสรรพสินค้า โกดังสินค้าต่างๆ หรือโรงงานอุตสาหกรรม ออกแบบผลิตติดตั้งลิฟท์ขนส่งสินค้า ระบบประตูเปิดปิดอัตโนมัติหรือด้วยมือ โดยวิศวกร รับประกันงานติดตั้งพร้อมบริการหลังการขาย บริการติดตั้งทั่วประเทศประสบการณ์มากกว่า 20 ปี


สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณ วิรัช
Tel: 081-344-2265
Tel: 089-888-5035
Tel: 081-575-0555
บริษัท สุทธกุล จำกัด
2088 ซอยชวาล 1 เทพารักษ์ ตำบลเทพารักษ์
อำเภอเมืองสมุทรปราการ สมุทรปราการ 10270
Tel: 02-383-7496, 02-383-6553, 02-759-5040-43
Fax: 02-759-5044
E-mail: v_suttakul@yahoo.co.th
www.buysales.net/ลิฟท์ขนของ ลิฟท์ขนสินค้า ลิฟท์บรรทุกของ ลิฟท์บรรทุกสินค้า
ติดต่อโรงงาน
334 /4 หมู่ 6 ต.บางเพรียง อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ
Tel: 02-383-7496, 02-383-6553, 02-759-5040-43
Fax: 02-759-5044

หลักการทำงาน, ส่วนประกอบและการใช้พลังงานของลิฟต์
1.1 หลักการทำงานของลิฟต์
การเคลื่อนที่ของลิฟต์ใช้หลักการของรอกกว้านและน้ำหนักถ่วงเพื่อลดการใช้พลังงานในการขับเคลื่อนลิฟต์ โดยปลายเชือกรอกกว้านด้านหนึ่งของลิฟต์จะยึดติดกับตัวลิฟต์ ในขณะที่ปลายเชือกรอกกว้านอีกด้านหนึ่งจะผูกติดกับน้ำหนักถ่วง โดยปลายเชือกรอกกว้านหรือสลิงจะมีความยาวเท่ากับความสูงของตึกโดยประมาณ ดังนั้นเมื่อลิฟต์โดยสารจอดที่ชั้นล่างสุดของอาคาร น้ำหนักถ่วงจะอยู่ชั้นบนสุด เมื่อลิฟต์โดยสารเคลื่อนที่ขึ้น น้ำหนักถ่วงจะมีหน้าที่ขับลิฟต์ให้เคลื่อนที่ควบคู่ไปกับเบรคเพื่อชะลอความเร็ว โดยมอเตอร์จะทำหน้าที่ควบคุมความเร็วของลิฟต์ให้เป็นไปตามพิกัด ในทำนองเดียวกันหากลิฟต์จอดชั้นบนสุด น้ำหนักถ่วงจะอยู่ชั้นล่างสุด ลิฟต์จะเคลื่อนที่ลงโดยอาศัยน้ำหนักของตัวลิฟต์ จากหลักการดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการออกแบบลิฟต์ให้เกิดความได้เปรียบเชิงกลจะทำให้ลิฟต์ใช้พลังงานน้อยมากเมื่อเทียบกับเครื่องจักรอื่นๆ ที่ใช้งานในอาคาร
1.2 อุปกรณ์หลักของลิฟต์
1.2.1 ห้องเครื่องลิฟต์
ห้องเครื่องลิฟต์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ลิฟต์ที่มีห้องเครื่อง และลิฟต์ที่ไม่มีห้องเครื่องลิฟต์ สำหรับลิฟต์ที่มีห้องเครื่องลิฟต์ ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ลิฟต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าและลิฟต์ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฮดรอลิกโดยลิฟต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฮดรอลิกจะใช้กำลังไฟฟ้าที่สูงกว่ามาก ลิฟต์ที่มีห้องเครื่องและขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าเป็นลิฟต์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากสะดวกและง่ายต่อการบำรุงรักษา สำหรับลิฟต์ที่ไม่มีห้องเครื่องนิยมใช้กับอาคารที่มีความสูงไม่มากเนื่องจากพิกัดความเร็วน้ำหนักบรรทุกและจำนวนชั้นจอดยังเป็นข้อจำกัด

1.2.2 เครื่องลิฟต์ (driving machine )
เครื่องลิฟต์ หมายถึง ตัวต้นกำลังที่ให้พลังงานในการขับเคลื่อนตัวลิฟต์แบ่งเป็น
1.2.2.1 เครื่องลิฟต์แรงฉุดจากความฝืด (traction machine ) หมายถึง เครื่องลิฟต์ที่ขับเคลื่อนตัวลิฟต์ โดยอาศัยความฝืดระหว่างเชือกลวดแขวนกับรอกขับเคลื่อน ซึ่งมีมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังในการหมุนรอกขับเคลื่อน โดยมีทั้งแบบส่งกำลังผ่านเฟืองและแบบขับเคลื่อนโดยตรง
ก. เครื่องลิฟต์ขับเคลื่อนด้วยเฟือง (geared-drive machine, geared machine) หมายถึง เครื่องลิฟต์ที่ใช้กำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้าผ่านเฟืองไปหมุนรอกขับเคลื่อน ส่วนมากมักใช้เฉพาะกับลิฟต์ที่มีความเร็วต่ำที่ไม่สามารถขับโดยตรงจากมอเตอร์ได้

ข. เครื่องลิฟต์ขับเคลื่อนโดยตรง (direct drive machine, gearless machine) หมายถึง เครื่องลิฟต์ที่ใช้กำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้าที่ต่อโดยตรงกับรอกขับเคลื่อน ส่วนมากเป็นลิฟต์ที่มีความเร็วสูง

ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบการใช้งานเครื่องลิฟต์แรงฉุดจากความฝืดขับเคลื่อนด้วยเฟือง(geared machine) และขับเคลื่อนโดยตรง (gearless machine)

1.2.2.1.1 เครื่องลิฟต์รอกกว้าน (winding drum machine) หมายถึง เครื่องลิฟต์ที่ใช้กำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้าผ่านไปหมุนรอกกว้านเชือกลวดแขวน
1.2.2.1.2 เครื่องลิฟต์ไฮดรอลิค (hydraulic power unit ) หมายถึง เครื่องลิฟต์ที่ใช้กำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้าขับเครื่องสูบน้ำมันเข้าระบบไฮดรอลิค เพื่อขับเคลื่อนลิฟต์ให้เคลื่อนขึ้น และลิฟต์เคลื่อนลงโดยแรงโน้มถ่วง เมื่อปล่อยน้ำมันไหลกลับสู่ถังเก็บน้ำมัน
1.2.3 ระบบควบคุมการขับเคลื่อน(drive control)
ระบบควบคุมการขับเคลื่อน หมายถึง ระบบควบคุมการเคลื่อนที่ การหยุดทิศทางการเคลื่อนที่ ความเร่ง อัตราเร็ว และความหน่วงของส่วนที่เคลื่อนที่ มีดังนี้
1.2.3.1 ระบบควบคุมการขับเคลื่อนโดยสนามแม่เหล็กของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า(generator field control) หมายถึง ระบบควบคุมซึ่งปรับแรงดันไฟฟ้า ที่จ่ายให้กับมอเตอร์ที่ใช้ขับเคลื่อนลิฟต์โดยการเปลี่ยนแปลงความเข้มและทิศทางของสนามแม่เหล็กของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ระบบนี้ใช้กับลิฟต์ที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของตัวเองเป็นระบบควบคุมที่มีการสูญเสียพลังงานสูงมาก
1.2.3.2 ระบบควบคุมโดยรีโอสแตต (rheostat control) หมายถึง ระบบควบคุมซึ่งเปลี่ยนแปรค่าความต้านทานและ/หรือค่ารีแอกแตนซ์ในอาร์มาเจอร์ และ/หรือในวงจรสนามแม่เหล็กของมอเตอร์เครื่องลิฟต์ ใช้กับลิฟต์ที่มีความเร็วต่ำและเป็นอาคารที่ไม่สูงมาก
1.2.3.3 ระบบควบคุมโดยใช้ไฟฟ้ากระแสสลับอัตราความเร็วเดียว (single speed alternating current control ) หมายถึง ระบบควบคุมที่ใช้มอเตอร์แบบเหนี่ยวนำ (induction motor) อัตราความเร็วค่าเดียวขับเคลื่อนตัวลิฟต์
1.2.3.4 ระบบควบคุมโดยใช้ไฟฟ้ากระแสสลับสองอัตราความเร็ว (two speed alternating current control) หมายถึง ระบบควบคุมที่ใช้มอเตอร์แบบเหนี่ยวนำสองอัตราความเร็วขับเคลื่อนตัวลิฟต์ซึ่งทำให้หมุนด้วยอัตราความเร็วซิงโครนัส 2 ค่า โดยการต่อขดลวดของมอเตอร์ให้มีจำนวนขั้วต่างกัน
1.2.3.5 ระบบควบคุมโดยการแปรเปลี่ยนแรงเคลื่อนไฟฟ้า (variable voltage control) หมายถึง ระบบควบคุมที่แปรเปลี่ยนแรง เคลื่อนไฟฟ้าที่จ่ายให้มอเตอร์ขับเคลื่อนตัวลิฟต์ โดยมากใช้อุปกรณ์ประเภท SCR หรือ Thyristor ใช้กับลิฟต์ที่มีความเร็วปานกลาง-สูง
1.2.3.6 ระบบควบคุมโดยแปรเปลี่ยนแรงเคลื่อนไฟฟ้าและความถี่ไฟฟ้า (variable voltage , variable frequency control :VVVF) หมายถึง ระบบควบคุมที่แปรเปลี่ยนแรงเคลื่อนไฟฟ้าและความถี่ไฟฟ้าที่จ่ายให้มอเตอร์ขับเคลื่อนตัวลิฟต์ เป็นชุดควบคุมที่มีประสิทธิภาพพลังงานสูง โดยใช้งานกับมอเตอร์ขับเคลื่อนลิฟต์ชนิดไฟฟ้ากระแสสลับ
1.2.4 รางบังคับลิฟต์และปล่องลิฟต์
รางบังคับลิฟต์และปล่องลิฟต์ ทำหน้าที่นำทางให้ห้องโดยสารเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง การติดตั้งรางลิฟต์ภายในปล่องลิฟต์จะต้องมีระยะที่ห้องโดยสารกับรางลิฟต์อย่างเหมาะสม โดยห้องลิฟต์กับรางลิฟต์ต้องไม่ห่างจนเกินไปและไม่ชิดจนเกินไปเพื่อไม่ให้เกิดการแกว่งขณะเคลื่อนที่ นอกจากนี้ภายในปล่องลิฟต์จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ให้ความสว่างและช่องเปิดที่ปลอดภัยเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าภายในปล่องลิฟต์ได้
1.2.5 อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของลิฟต์ (systems of elevator operation and supervision)
ลิฟต์จะถูกควบคุมการใช้งานผ่านเครื่องควบคุมการใช้งาน โดยพลังงานไฟฟ้าที่ลิฟต์ใช้จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักบรรทุกและความเร็วในขณะนั้น มอเตอร์ไฟฟ้าที่ขับลิฟต์จะรับสัญญาณเพื่อควบคุมให้ความเร็วลิฟต์เป็นไปตามน้ำหนักบรรทุกจริงรวมถึงความเร็ว นอกจากนี้อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของลิฟต์ยังจะต้องจัดการทำงานของลิฟต์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานลิฟต์ เช่น ให้ลิฟต์ที่อยู่ใกล้ที่สุดมาให้บริการ การลดเวลารอคอย การประหยัดพลังงาน ซึ่งในปัจจุบันเป็นระบบคอมพิวเตอร์ (computerized system control) เป็นส่วนใหญ่
- Collective Control เป็นระบบการควบคุมที่มีปุ่มกดเรียกลิฟต์เพียงจุดเดียวในแต่ละชั้น โดยลิฟต์จะจอดทุกชั้นที่มีการเรียก ซึ่งทำให้ต้องใช้เวลาในการรอคอยนานมาก โดยมากมีใช้ในอาคารที่พักอาศัย และลิฟต์ขนของในโรงงานอุตสาหกรรม
- Selective Collective Control เป็นระบบการควบคุมทีมีปุ่มกดเรียกลิฟต์ขึ้นและลงในแต่ละชั้น เมื่อลิฟต์อยู่ในช่วงขาขึ้นลิฟต์จะเลือกจอดเฉพาะชั้นที่ผู้โดยสารต้องการไปและจอดรับผู้โดยสารที่เรียกขึ้น (up) เท่านั้น เช่นเดียวกันเมื่อลิฟต์อยู่ในช่วงขาลงลิฟต์จะเลือกจอดเฉพาะชั้นที่ผู้โดยสารต้องการไปและจอดรับผู้โดยสารที่เรียกลง(down) เท่านั้น ระบบการควบคุมแบบนี้มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ในอาคารสำนักงาน อาคารธุรกิจประเภทต่าง ๆ
- Computerized System Control เนื่องจากระบบการควบคุมแบบเดิม ๆ ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ เช่น ระยะเวลาในการรอคอย และการจัดการการใช้งานลิฟต์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งผู้ผลิตลิฟต์ก็มีการพัฒนาหลายด้านเพื่อเพิ่มประสิทธิต่าง ๆ โดยได้นำระบบการประมวลผล และเทคโนโลยี่ด้านคอมพิวเตอร์สมัยใหม่มาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และการบริหารลิฟต์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ยกตัวอย่างเช่น ระบบที่มีการ เรียกลิฟต์โดยที่โถงลิฟต์จะไม่มีปุมกดขึ้นและลง แต่จะมีอุปกรณ์เรียกลิฟต์ที่มีหน้าจอแบบสัมผัส (touchscreen keypad) ผู้โดยสารจะต้องป้อนข้อมูลชั้นที่ผู้โดยสารต้องการไปและระบบควบคุมของลิฟต์จะประมวลผลและแจ้งผู้โดยสารทันทีว่าจะต้องไปรอขึ้นลิฟต์ตัวใด ระบบควบคุมแบบนี้เหมาะที่จะใช้ในอาคารขนาดใหญ่ และมีผู้โดยสารจำนวนมาก เพราะระบบควบคุมดังกล่าวสามารถลดระยะเวลาการรอคอย ระยะเวลาการเดินทางของลิฟต์แต่ละตัว(round-trip time)เนื่องจากจะไม่มีกรณีที่ลิฟต์ต้องหยุดเกือบทุกชั้นเพื่อรับและส่งผู้โดยสาร นอกจากนั้นยังลดความแออัดของผู้ใช้ลิฟต์เนื่องจากสามารถจัดกลุ่มของผู้โดยสารที่ลงชั้นเดียวกันให้ใช้ลิฟต์ตัวเดียวกัน และสามารถบริหารให้ลิฟต์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.3 การใช้พลังงานของลิฟท์
ลิฟต์มีการใช้พลังงานส่วนใหญ่ในส่วนของเครื่องลิฟต์ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนตัวลิฟต์ ซึ่งมีอยู่หลายประเภท ดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น นอกจากประเภทของเครื่องลิฟต์แล้วระบบควบคุมการขับเคลื่อน(drive control) ยังเป็นอุปกรณ์อีกตัวหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการใช้พลังงานของลิฟต์ ลิฟต์ที่มีมวลบรรทุกที่กำหนด(rated load) มากและความเร็ว(rated speed) สูงย่อมต้องใช้พลังงานมากตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ลิฟต์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ออกแบบไว้ให้มีความได้เปรียบเชิงกลและใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยที่สุด สำหรับลิฟต์ที่มีมวลบรรทุก 900 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 2.5 เมตรต่อวินาที จะใช้พลังงานไม่ถึง 1 หน่วย(kWh)ต่อครั้ง โดยบางช่วงของการเคลื่อนที่มอเตอร์ขับลิฟต์ทำหน้าที่เป็นทั้งไดนาโมและมอเตอร์ในคราวเดียวกัน ดังนั้นลิฟต์จะใช้พลังงานไฟฟ้ากับระบบเบรคเพื่อชะลอความเร็วให้ลิฟต์จอดชั้นที่ต้องการอย่างปลอดภัย รูปที่ 10-7 แสดงค่าความต้องการกำลังไฟฟ้าของเครื่องลิฟต์แรงฉุดจากความฝืดขับเคลื่อนด้วยเฟือง(geared machine) และขับเคลื่อนโดยตรง (gearless machine)
การประเมินกำลังไฟฟ้าที่ต้องการ
ตัวอย่างที่ 1-1 ลิฟต์กลุ่มหนึ่งมีจำนวน 5 ตัว แต่ละตัวมีน้ำหนักบรรทุก 1,600 กิโลกรัม, ความเร็ว 3เมตร/วินาที ลิฟต์แต่ละตัวต้องการกำลังไฟฟ้า 48 แรงม้า group demand factor = 0.67
กำลังไฟฟ้ารวมที่ต้องการ = 5 x 48 x 0.67 = 160 แรงม้า
การประเมินความร้อนสูญเสียของลิฟต์
ความร้อนสูญเสียในลิฟต์เกิดจากความร้อนในระบบเบรกบวกกับการสูญเสียของระบบไฟฟ้าของมอเตอร์ขับลิฟต์และอุปกรณ์ในระบบจ่ายกำลังไฟฟ้าของชุดควบคุม รายละเอียดของการสูญเสียกำลังไฟฟ้าซึ่งแสดงให้เห็นว่าการสูญเสียกำลังไฟฟ้าของเครื่องลิฟต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเฟือง (geared machine ) มีค่ามากกว่าเครื่องลิฟต์ที่ขับเคลื่อนโดยตรง (gearless machine) เกือบ 2 เท่า
1.4 การเลือกขนาดและจำนวนของลิฟต์ (Elevator Selection)
การลือกขนาดและจำนวนของลิฟต์ (elevator selection) จำเป็นต้องมีการพิจารณาอย่างละเอียดเนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา ได้แก่ ความเพียงพอของการให้บริการในอาคารนั้นๆ ความคุ้มค่าในการเลือกใช้ลิฟต์ พื้นที่ว่างที่สอดคล้องกับงานด้านสถาปัตยกรรม(โถงลิฟต์ ช่องลิฟต์ ห้องเครื่องลิฟต์) ดังนั้นในอาคารขนาดใหญ่และมีการใช้งานที่หลากหลายการคำนวณด้วยมืออาจทำให้เกิดความยุ่งยาก จึงมีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณ โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาถึงคุณภาพการบริการของลิฟต์ดังนี้
1.4.1 Interval (I) หรือ lobby dispatch time, เวลาในการรอคอย (waiting time) Interval (I) คือ ระยะเวลาเฉลี่ยของการเคลื่อนที่ของลิฟต์มารับผู้โดยสารและเคลื่อนที่ออกจากโถงลิฟต์ ส่วนเวลาในการรอคอย (waiting time) หมายถึง ระยะเวลาเฉลี่ยที่ผู้ใช้ลิฟต์ใช้ในรอลิฟต์โดยนับตั้งแต่เวลาที่ผู้ใช้ลิฟต์เรียกลิฟต์จนกระทั่งเดินเข้าลิฟต์ ในทางปฏิบัติกำหนดให้ระยะเวลาในการรอคอยคิดเป็น 60% ของ Interval
Average waiting time = 0.6 I
อาคารสำนักงานชั้นดีจะออกแบบระยะเวลาในการรอคอยอยู่ระหว่าง 15-18 วินาทีในช่วงการจราจรสูงสุด หรืออาจสูงถึง 22 วินาที แต่ไม่ควรเกิน 26 วินาที ในตารางที่ 10-3 แสดงค่า I ที่เหมาะสมในอาคารแต่ละประเภท
ตารางที่ 3 แสดงค่า I ที่เหมาะสมในอาคารแต่ละประเภท

1.4.3 ระยะเวลาในการเดินทางเฉลี่ย(traveling time or average trip time : AVTRP) หมายถึง ระยะเวลาเฉลี่ยที่ผู้ใช้ลิฟต์ใช้ในการเดินทางโดยใช้ลิฟต์ ซึ่งนับตั้งแต่เวลาที่ผู้ใช้ลิฟต์เรียกลิฟต์และโดยสารลิฟต์จนกระทั่งออกจากลิฟต์ในชั้นที่ต้องการ โดยทั่วไป ระยะเวลาของการเดินทางที่น้อยกว่า 1 นาทีเป็นสิ่งที่ดีเยี่ยม แม้จะใช้เวลา 75 ถึง 90 วินาทีก็สามารถยอมรับได้ แต่ไม่ควรเกินกว่า 120 วินาที สำหรับระยะเวลาในการเดินทางเฉลี่ย(traveling time or average trip time) ที่ใช้ในการประเมินสามารถพิจารณาได้จากเส้นกราฟที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง จำนวนชั้น และความเร็วของลิฟต์ค่าต่างๆ ที่ขนาดน้ำหนักบรรทุกแต่ละตัว (สามารถหาข้อมูลได้จากผู้ผลิต) โดยที่ระยะเวลาดังกล่าวยังมีความคลาดเคลื่อนได้ 10%
1.5 การอนุรักษ์พลังงานในระบบลิฟต์
เนื่องจากลิฟต์เป็นอุปกรณ์ประกอบอาคารสำหรับอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่ให้บริการผู้ใช้อาคารในการเดินทางและขนส่งระหว่างชั้นของอาคาร โดยเป็นอุปกรณ์ที่เน้นในเรื่องของความปลอดภัยเป็นอันดับแรก รองลงมาคือด้านการบริการ ดั้งนั้นในส่วนของการประหยัดพลังงานที่จะกล่าวต่อไปนี้ จึงเป็นเพียงข้อแนะนำให้ผู้ออกแบบ ผู้จัดหา และผู้บริหารอาคาร ใช้เป็นหลักปฎิบัติในการทำงานเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้งานลิฟต์อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดการประหยัดพลังงาน โดยยังคงรักษามาตรฐานด้านความปลอดภัยและการให้บริการที่ดีของอาคารไว้
1.5.1 การออกแบบและเลือกใช้ลิฟต์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
การออกแบบและเลือกใช้ลิฟต์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานนั้นมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการออกแบบและเลือกใช้ลิฟต์ตั้งแต่ขั้นตอนแรก เพื่อจะให้ได้ลิฟต์ที่มีขนาดของกำลังมอเตอร์ต่ำที่สุด มีการสูญเสียไฟฟ้าและความร้อนน้อยที่สุด และมีจำนวนลิฟต์น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ด้วย โดยมีแนวทางปฏิบติดังนี้
1) ออกแบบลิฟต์โดยใช้การกำหนดรอบระยะเวลาของการให้บริการสูงสุด(maximum trip time) ซึ่งจะสามารถลดทั้งน้ำหนักบรรทุกและความเร็วของลิฟต์
2) เลือกใช้ลิฟต์ที่อัตราความเร็วที่กำหนดต่ำสุด(minimum rated speed) เท่าที่จะทำได้ จากเหตุผลด้านเทคนิคที่ลิฟต์ขนาดน้ำหนักบรรทุกเท่ากัน ตัวที่มีความเร็วสูงกว่าจะมีขนาดมอเตอร์ที่พิกัดสูงกว่าด้วย
3) เลือกใช้เครื่องลิฟต์ชนิดขับเคลื่อนโดยตรง (gearless machine) เพราะมีการสูญกำลังไฟฟ้าและความร้อนน้อยกว่าเครื่องลิฟต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเฟือง(geared machine)เกือบ 2 เท่า
4) เลือกใช้ลิฟต์ โดยพิจารณาระบบควบคุมการขับเคลื่อนชนิดแปรเปลี่ยนแรงเคลื่อนไฟฟ้าและความถี่ (variable voltage , variable frequency control) เพราะมีการสูญกำลังไฟฟ้าและความร้อนน้อยกว่า และมีความได้เปรียบในด้านการเร่งความเร็วและลดความเร็วที่ใช้เวลาน้อยกว่าและมีความนุ่มนวลกว่า
5) การควบคุมการใช้งานลิฟต์
เลือกใช้ระบบควบคุมการใช้งานของลิฟต์ให้เหมาะกับลักษณะการใช้งานของอาคาร จำนวนผู้โดยสารในช่วงการใช้งานสูงสูด (peak time) ตัวอย่างเช่น อาคารเพื่อที่อยู่อาศัย อาคารโรงแรมทั่วไป อาคารโรงพยาบาล ที่มีการใช้งานไม่มากนัก การเลือกใช้ระบบควบคุมแบบ Selective Collective Control น่าจะเพียงพอ แต่ถ้าเป็นอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ ที่มีการจราจรหนาแน่น ควรเลือกใช้ ระบบควบคุมแบบ Computerized System Control
6) น้ำหนักของวัสดุที่ใช้ตกแต่งห้องลิฟต์ (Decoration Load) ไม่ควรเกิน 20%ของน้ำหนักบรรทุกที่กำหนด (Rated Load)
7) ระบบระบายอากาศในห้องเครื่องลิฟต์อาจไม่จำเป็นต้องติดตั้งระบบปรับอากาศในห้องเครื่องลิฟต์ กรณีที่สามารถติดตั้งระบบระบายอากาศได้ตามข้อกำหนดในมาตรฐานของ ว.ส.ท. (E.I.T. Standard 3007-43) ซึ่งกำหนดไว้ว่า ในห้องเครื่องลิฟต์ จะต้องติดตั้งระบบระบายอากาศทางกล เพื่อรักษาค่าอุณหภูมิของอากาศในระยะ 1.00 เมตรโดยรอบเครื่องจักรที่ให้ความร้อนไม่ให้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
1.5.2 การปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องลิฟต์และระบบควบคุมการขับเคลื่อน
การปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องลิฟต์และระบบควบคุมการขับเคลื่อนมุ่งเน้นให้ความสำคัญในส่วนของลิฟต์ที่มีอายุการใช้งานนาน ๆ และใช้เทคโนโลยี่ที่ล้าสมัย ได้แก่ เครื่องลิฟต์ที่ขับเคลื่อนโดยเฟือง(geared machine) เครื่องลิฟต์ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าแบบกระแสตรง ระบบควบคุมการขับเคลื่อนโดยสนามแม่เหล็กของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า(generator field control) ระบบควบคุมโดยรีโอสแตต (rheostat control) ลิฟต์ประเภทนี้จะมีการสูญเสียทางไฟฟ้าและความร้อนสูงมาก สามารเปลี่ยนใหม่เป็น เครื่องลิฟต์ชนิดขับเคลื่อนโดยตรง (gearless machine) ระบบควบคุมโดยแปรเปลี่ยนแรงเคลื่อนไฟฟ้าและความถี่ (variable voltage , variable frequency) ซึ่งมีขนาดของกำลังมอเตอร์ต่ำ มีการสูญเสียทางไฟฟ้าและความร้อนน้อย นอกจากจะสามารถลดการใช้พลังงานในส่วนของการใช้พลังงานของลิฟต์เองแล้ว ยังจะสามารถลดการใช้พลังงานในส่วนของระบบระบายอากาศของห้องเครื่องลิฟต์ได้ด้วย
1.5.3 การบริหารการใช้พลังงานของระบบลิฟต์
การบริหารการใช้พลังงานของระบบลิฟต์ เป็นการควบคุมการใช้ลิฟต์ โดยเฉพาะลิฟต์ที่มีอายุการใช้งานนาน ๆ และมีระบบควบคุมที่ไม่สามารถบริหารจัดการการใช้ลิฟต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1) ภายใต้ภาวะการทำงานปกติ (normal operation status) ลิฟต์อย่างน้อย 1 ตัวของกลุ่ม (lift bank) ควรจะทำงานภายใต้สถานะเตรียมพร้อม (standby mode) ในช่วงเวลาที่มีการจราจรน้อย (off-peak)
2) ภายใต้การทำงานในสถานะเตรียมพร้อม ( standby mode) ลิฟต์โดยสารจะไม่ตอบสนองต่อการเรียกของผู้โดยสารจนกว่าจะกลับเข้าสู่สถานะการทำงานปกติ ( normal operation mode)
3) ควรติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้าสำหรับสายป้อนไฟฟ้าที่ส่งกำลังไฟฟ้าให้ลิฟต์และอุปกรณ์ประกอบของระบบลิฟต์เช่น ระบบระบายอากาศ ระบบแสงสว่างของลิฟต์ เพื่อบันทึกข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการบริหารการใช้พลังงาน
4) ลิฟต์แต่ละตัวในกลุ่ม (lift bank) ถ้าหยุดเคลื่อนที่เกิน 2 นาที ระบบระบายอากาศและระบบไฟฟ้าแสงสว่างควรหยุดทำงานโดยอัตโนมัติและจะทำงานใหม่เมื่อถูกเรียกใช้งานอีกครั้ง
เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างว่าด้วยลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราว
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 (7) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 กระทรวงมหาดไทยจึงกำหนดการคุ้มครองแรงงานในสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยสำหรับลูกจ้างไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
“งานก่อสร้าง” หมายความว่า การประกอบการเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ท่าเรือ ทางน้ำ สะพาน ถนน การโทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซ หรือการประปา และหมายความรวมถึงการต่อเติม ซ่อมแซม ซ่อมบำรุง ดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างนั้นๆ ด้วย
“อาคาร” หมายความว่า อาคารตามความหมายที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
“ลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราว” หมายความว่า เครื่องใช้ในการก่อสร้างเพื่อขนส่งวัสดุในทางดิ่ง ประกอบด้วยท่อลิฟต์หรือปล่องลิฟต์ตัวลิฟต์และเครื่องจักร
“หอลิฟต์” หมายความว่า โครงสร้างเป็นหอสูงจากพื้นสำหรับเป็นที่ติดตั้งตัวลิฟท์ในงานก่อสร้างเป็นการชั่วคราว
“ปล่องลิฟต์” หมายความว่า ช่องที่อยู่ภายในสิ่งก่อสร้างสำหรับใช้เป็นทางเคลื่อนขึ้นลงของ ตัวลิฟต์ในงานก่อสร้างเป็นการชั่วคราว
“ตัวลิฟท์” หมายความว่า ที่สำหรับรองรับหรือบรรจุวัสดุสามารถเคลื่อนย้ายขึ้นลงได้โดยใช้เครื่องจักร ในหรือนอกหอลิฟท์หรือปล่องลิฟท์
หมวด 1 การสร้างลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว
ข้อ 2 ลิฟท์ที่มีความสูงเกินเก้าเมตร นายจ้างจะต้องจัดให้มีผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา จาก ก.ว. เป็นผู้ออกแบบและคำนวณโครงสร้าง พร้อมทั้งกำหนดรายละเอียดของหอลิฟท์และตัวลิฟท์ อย่างน้อยให้เป็นไปตาม ข้อกำหนดดังต่อไปนี้
(1) หอลิฟท์ ต้องสามารถรับน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่าสองเท่าของน้ำหนักแห่งการใช้งาน (Working Load)
(2) คานสำหรับติดตั้งรอกและฐานที่รองรับคาน ต้องมีความแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักรอก น้ำหนักตัวลิฟท์ และน้ำหนักบรรทุก (Live Load) โดยมีส่วนปลอดภัย (Factor of Safety) ไม่น้อยกว่าห้า
(3) หอลิฟท์ที่สร้างด้วยไม้ต้องสร้างด้วยไม้ที่มีหน่วยแรงดัดประลัย (Ultimate Bending Stress) ไม่น้อยกว่าแปดร้อยกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรและมีส่วนปลอดภัยไม่น้อยกว่าแปด
(4) หอลิฟท์ที่สร้างด้วยโลหะต้องเป็นโลหะที่มีจุดคราก (Yield Point) ไม่น้อยกว่าสองพันสี่ร้อยกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรและมีส่วนปลอดภัยไม่น้อยกว่าสอง
(5) ฐานรองรับหอลิฟท์ ต้องมีความมั่นคง สามารถรับน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่าสองเท่าของน้ำหนัก หอลิฟท์ น้ำหนักตัวลิฟท์ และน้ำหนักบรรทุก
(6) ตัวลิฟท์ต้องมั่นคงแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ไม่น้อยกว่าห้าเท่าของน้ำหนักแห่งการใช้งานและ ต้องมีขอบกันของตกสูงไม่น้อยกว่าเจ็ดเซนติเมตรจากพื้นของตัวลิฟท์โดยของ และด้านที่ มิใช่ทางขนของเข้าออกต้องมีผนังปิดกั้นด้วยไม้หรือลวดตาข่ายมีความสูงจากพื้นของตัวลิฟท์ไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร เว้นแต่ตัวลิฟท์ที่มีลักษณะเป็นถังโลหะ ไม่ต้องมีผนังปิดกั้นก็ได้
(7) หอลิฟท์ ต้องมีการยึดโยง ค้ำยัน หรือตรึงกับพื้นดินหรือตัวอาคารให้มั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย
ข้อ 3 เครื่องจักรและอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้ยกตัวลิฟท์ นายจ้างต้องจัดให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
ข้อ 4 ในการสร้างลิฟท์ นายจ้างต้องดำเนินการตามแบบและรายละเอียดตามข้อ 2 ข้อ 3 และตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีติดตั้งตัวลิฟท์ภายในหอลิฟท์ต้องมีลาดตาข่ายหรือไม้ตีเว้นช่องห่างกันไม่น้อยกว่า สามเซนติเมตร แต่ไม่เกินสิบเซนติเมตร ปิดยึดแน่นกับโครงหอลิฟท์ทุกด้าน สูงไม่น้อยกว่าสองเมตรจากพื้นของหอลิฟท์ เว้นแต่ช่องที่ใช้เป็นทางขนของเข้าออก
(2) ในกรณีติดตั้งตัวลิฟท์ภายนอกหอลิฟท์ ต้องมีรั้วกั้นป้องกันมิให้บุคคลเข้าไปในบริเวณที่อาจเป็นอันตรายเนื่องจาก ของตกใต้ตัวลิฟท์นั้น
(3) ทางเดินระหว่างลิฟท์กับสิ่งก่อสร้าง ต้อง
(ก) มีราวกันตกสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร และไม่เกินหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตรจากพื้นทางเดิน
(ข) มีขอบกันของตกสูงไม่น้อยกว่าเจ็ดเซนติเมตรจากพื้นทางเดิน
(ค) มีไม้หรือโลหะขวางกั้นที่สามารถปิด-เปิดได้ มีความสูงไม่น้อยกว่าเเก้าสิบเซนติเมตร แต่ไม่เกินหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตร จากพื้นทางเดิน อยู่ห่างจากลิฟท์ไม่น้อยกว่าหกสิบเซนติเมตร บนทางเดินนั้น
(4) ในกรณีที่ปล่องลิฟท์ไม่มีผนังกั้นต้องมีรั้วที่มีความมั่นคงแข็งแรงปิดกั้น ทุกด้านสูงไม่น้อยกว่าสองเมตรจากพื้นแต่ละชั้นเว้นแต่ทางเข้าออก ต้องมีไม้หรือโลหะขวางกั้นที่สามารถปิดเปิดได้ มีความสูงไม่น้อยกว่าเก้าสิบเซนติเมตร และไม่เกินหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตรจากพื้น
ข้อ 5 เมื่อนายจ้างได้สร้างลิฟท์แล้ว ต้องให้วิศวกรผู้ออกแบบตามข้อ 2 หรือวิศวกรผู้ควบคุมงาน ตรวจรับรอง ว่าได้สร้างถูกต้องตามแบบรายละเอียดและข้อกำหนดตามข้อ 4 แล้ว จึงจะใช้ลิฟท์นั้นได้ และใบรับรองของวิศวกรดังกล่าว นายจ้างจะต้องเก็บรักษาไว้เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรมแรงงานตรวจดูได้ ตลอดเวลาการใช้ลิฟท์นั้น
ข้อ 6 การใช้ลิฟท์ นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังนี้
(1) ให้มีผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมการใช้ลิฟท์มาแล้วทำหน้าที่บังคับลิฟท์ประจำตลอดเวลาที่ใช้ลิฟท์
(2) ให้มีข้อบังคับการใช้ลิฟท์ติดไว้ให้เห็นชัดเจนในบริเวณลิฟท์ และผู้ทำหน้าที่บังคับลิฟท์ตาม (1) ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับนั้นโดยเคร่งครัด
(3) ให้มีการตรวจสอบลิฟท์ทุกวัน ถ้ามีส่วนใดชำรุดเสียหาย ต้องซ่อมให้เรียบร้อยก่อนที่จะใช้
(4) ติดป้าย “ห้ามใช้ลิฟท์” ให้ลูกจ้างทราบ ในกรณีที่ลิฟท์ไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หรือไม่มีผู้ทำหน้าที่บังคับลิฟท์ตาม (1)
(5) ห้ามมิให้บุคคลใดใช้ลิฟท์ขึ้นลงอย่างเด็ดขาด เว้นแต่ในกรณีตรวจสอบหรือซ่อมแซมลิฟท์
(6) ติดป้ายบอกพิกัดน้ำหนักบรรทุกไว้ที่ลิฟท์ให้เห็นได้ชัดเจน
(7) ต้องจัดวางและป้องกันมิให้วัสดุตกหรือยื่นออกมาขัดกับโครงหอลิฟท์
(8) ในการใช้ลิฟท์ขนรถขนของหรือเครื่องมือที่มีล้อ ต้องป้องกันมิให้รถหรือเครื่องมือนั้นเคลื่อนที่ได้
ข้อ 7 ในกรณีที่นายจ้างใช้ลิฟท์ในการทำงานก่อสร้าง ห้ามมิให้ใช้ลิฟท์ที่มีลักษณะใช้กระป๋องหรือภาชนะอื่นที่คล้ายกันเกี่ยวหรือเกาะเคลื่อนย้ายพร้อมกับสายพาน ลวด หรือเชือก แทนตัวลิฟท์ในงานก่อสร้าง
หมวด 2 การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
ข้อ 8 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับการประกอบหรือติดตั้งโครงลิฟท์ ซ่อมบำรุงลิฟท์ หรือการขน ยก แบก หาบ หาม สิ่งของหรือวัสดุขึ้นลงลิฟท์ สวมหมวกแข็ง ถุงมือหนัง รองเท้าหนังหัวโลหะ ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงาน
ข้อ 9 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับการควบคุมบังคับลิฟท์ สวมหมวกแข็ง และรองเท้าพื้นยางหุ้มส้น ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงาน
ข้อ 10 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทำงานมีลักษณะโดดเดี่ยวในที่สูงเกินสี่เมตร และไม่มีเครื่องป้องกันอันตราย หรือการป้องกันอันตรายอย่างอื่นสวมเข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัย ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงาน
ข้อ 11 อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(1) หมวกแข็ง ต้องมีน้ำหนักไม่เกินสี่ร้อยยี่สิบสี่กรัม ทำด้วยวัตถุที่ไม่ใช่โลหะและมีความต้านทานสามารถทนแรงกระแทกได้ไม่น้อยกว่า สามร้อยแปดสิบห้ากิโลกรัม ภายในหมวกต้องมีรองในหมวกทำด้วยหนัง พลาสติก ผ้า หรือวัตถุอื่นที่คล้ายกันอยู่ห่างผนังหมวกไม่น้อยกว่าหนึ่งเซนติเมตร ซึ่งสามารถปรับระยะได้ตามขนาดศีรษะของผู้ใช้ เพื่อป้องกันศีรษะกระทบกับผนังหมวก
(2) ถุงมือหนัง ต้องมีความยาวหุ้มถึงข้อมือ มีลักษณะใช้สวมกับนิ้วมือได้ทุกนิ้ว
(3) รองเท้าหนังหัวโลหะปลายรองเท้าต้องมีโลหะแข็งหุ้ม สามารถทนแรงกดได้ไม่น้อยกว่าสี่ร้อย สี่สิบหกกิโลกรัม
(4) เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัย ต้องทำด้วยหนัง ไนล่อน ผ้าฝ้ายถักหรือวัตถุอื่นที่คล้ายกัน และสามารถทนแรงดึงได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งพันหนึ่งร้อยห้าสิบกิโลกรัม สำหรับเข็มขัดนิรภัยต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่าห้าเซนติเมตร
ข้อ 12 ข้อกำหนดตามประกาศนี้ ถือเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่ต้องปฏิบัติเท่านั้น
ข้อ 13 ให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายตามประกาศนี้
ข้อ 14 ประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป